เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [10. โกสัมพิกขันธกะ] 271. โกสัมพิกวิวาทกถา
[453] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “ภิกษุสงฆ์จะแตกกัน
ภิกษุสงฆ์จะแตกกัน”1 เสด็จลุกจากอาสนะ เข้าไปหาพวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรม
ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ที่จัดไว้ แล้วได้ตรัสกับภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรม
เหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าคิดอย่างนี้ว่า ‘เรื่องนี้แจ่มแจ้งแก่
พวกเรา เรื่องนี้แจ่มแจ้งแก่พวกเรา’ แล้วจ้องแต่จะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุในเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่า
ไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุเหล่านั้นรู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านรูปนี้แลเป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การ
ศึกษา ถ้าพวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนี้เพราะไม่เห็นอาบัติ พวกเราก็จะ
ทำอุโบสถร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องทำอุโบสถแยกจากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมาง
ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่ง
สงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุ
จะมีแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้หนักในความแตกกัน ไม่พึงลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุรูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัติ
นั้นว่าไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุ
เหล่านั้นรู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านรูปนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การศึกษา ถ้า
พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนี้เพราะไม่เห็นอาบัติ พวกเราก็จะปวารณา
ร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องปวารณาแยกจากภิกษุรูปนี้ จะทำสังฆกรรมร่วมกับภิกษุรูปนี้
ไม่ได้ ต้องทำสังฆกรรมแยกจากภิกษุรูปนี้ จะนั่งร่วมบนอาสนะเดียวกับภิกษุรูปนี้

เชิงอรรถ :
1 ภิกษุสงฆ์ยังไม่แตกกัน แต่มีเหตุคือความทะเลาะวิวาทที่บ่งบอกว่า จะแตกกันแน่นอนในโอกาสต่อไป เหมือน
เมื่อฝนตกลงมา ชาวนาทั้งหลายก็มักจะกล่าวว่า “ข้าวกล้าสำเร็จแล้ว” เพราะฝนเป็นเครื่องบ่งบอกถึง
ความสำเร็จแห่งข้าวกล้าในโอกาสต่อไปแน่นอน (วิ.อ. 3/453/243)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :337 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [10. โกสัมพิกขันธกะ] 271. โกสัมพิกวิวาทกถา
ไม่ได้ ต้องนั่งบนอาสนะแยกจากภิกษุรูปนี้ จะนั่งในที่ดื่มข้าวต้มร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้
ต้องนั่งแยกจากภิกษุรูปนี้ จะนั่งในโรงอาหารร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องนั่งแยก
จากภิกษุรูปนี้ จะอยู่ในที่มุงบังเดียวกันร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องอยู่แยกจาก
ภิกษุรูปนี้ จะกราบไหว้ ต้อนรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรมตามลำดับพรรษาร่วม
กับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องทำแยกจากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ
ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่ง
แยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุจะมีแก่สงฆ์’
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้หนักในความแตกกัน จึงไม่พึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
รูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ”

เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงแนะนำให้ภิกษุแสดงอาบัติ
[454] ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนั้นแก่พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมแล้ว
เสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปหาพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนีย
กรรมประทับบนพุทธอาสน์ที่ปูไว้แล้ว ได้ตรัสกับพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูก
ลงอุกเขปนียกรรมดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติแล้วอย่าคิดว่า
‘พวกเราหาได้ต้องอาบัติไม่ พวกเราหาได้ต้องอาบัติไม่’ สำคัญว่าอาบัติไม่ต้องทำคืน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่
เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุรูปนั้นรู้จัก
ภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านเหล่านี้แลเป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การศึกษา คงจะไม่
ลำเอียงเพราะความรัก เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะความกลัว เพราะ
เราเป็นเหตุ หรือเพราะภิกษุอื่นเป็นเหตุ ถ้าภิกษุเหล่านี้จะลงอุกเขปนียกรรมเรา
เพราะไม่เห็นอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจะทำอุโบสถร่วมกับเราไม่ได้ ต้องทำอุโบสถแยก
จากเรา ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตก
แห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ
กันซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุจะมีแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้ตระหนักในความแตกกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :338 }